top of page
  • Annika

ตัวอักษรฮิระงะนะและเสียงอ่าน

อัปเดตเมื่อ 9 ม.ค. 2564

เสียงใส

เสียงใส คือ ตัวอักษรหลัก 46 ตัวอักษร แยกเป็นเสียงต่างๆ ดังนี้


ฟังเสียงあ~ん









ประเภทเสียงและวิธีการอ่านอักษร

1. เสียงใส

あさ (asa) อะสะ หมายถึง ตอนเช้า

さくら (sakura) สะกุระ หมายถึง ซากุระ

かねもち (kanemochi) คะเนะโมะจิ หมายถึง คนมีฐานะดี

あります (arimasu) อะริมะสุ หมายถึง มี


2. เสียงขุ่นและกึ่งขุ่น

เสียงขุ่นและกึ่งขุ่น คือ การเปลี่ยนเสียงโดยการเติมสัญญลักษณ์เรียกว่า だくてん(dakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการตามรูปทรงของสัญลักษณ์ว่า tenten หรือ chonchon ตามหลังอักษรในแถว 「か」「さ」「た」「は」

หรือโดยวิธีเติมสัญญักษณ์เรียกว่า はんだくてん(handakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」เพื่อให้เกิดเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม


ฟังเสียงขุ่นและเสียงกึ่งขุ่น










วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงขุ่นและกึ่งขุ่น

かぎ (kagi) คะงิ หมายถึง กุญแจ

かばん (kaban) คะบัง หมายถึง กระเป๋า

なんじ (nanji) นันจิ หมายถึง กี่โมง

いっぽん (ippon) อิปปง หมายถึง หนึ่งแท่ง


3. เสียงควบ เสียงควบ คือ การนำอักษรที่ออกเสียง 'i' เช่น き し ち มาผสมกับอักษรในแถว ya คือ や ゆ よ

ที่แปลงรูปอักษรให้ตัวเล็กลงเป็น ゃ ゅ ょ เพื่อให้เกิดการออกเสียงควบกล้ำกันระหว่างสระ 2 ชนิด

(เช่น i+a, i+u, i+o)


(1) ゃ ออกเสียงคล้าย เอียะ หรือคล้าย อะ เช่น

  きゃ (kya) ออกเสียง เคียะ

  ちゃ (cha) ออกเสียง จะ

(2) ゅ ออกเสียงคล้าย อิว แต่เป็นเสียงสั้น หรือเสียง อุ เช่น

  きゅ (kyu) ออกเสียง คิว (แต่ออกเสียงสั้น)

  ちゅ (chu) ออกเสียง จุ

(3) ょ ออกเสียงคล้าย เอียว แต่เป็นเสียงสั้น หรือออกเสียง โอะ เช่น

  きょ (kyo) ออกเสียง เคียว (แต่ออกเสียงสั้น)

ちょ (cho) ออกเสียง โจะ


ฟังเสียงควบ










วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงควบ

きゃく (kyaku) เคียะคุ หมายถึง ลูกค้า

びょういん  (byooin) เบียวอิน หมายถึง โรงพยาบาล

おちゃ (ocha) โอะจะ หมายถึง ชา

りょうり   (ryoori) เรียวริ หมายถึง อาหาร


4. เสียงซ้อน

เสียงซ้อน คือ เสียงที่มีตัว っ (tsu ตัวเล็ก) คั่นกลางอักษรทำให้ตัวหน้าออกเสียงเป็นตัวสะกด โดยมีเสียงเดียวกันกับตัวอักษรที่ตามหลังมา


วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงซ้อน

いった (itta) อิตตะ หมายถึง ไปแล้ว

いっぷん (ippun) อิปปุง หมายถึง หนึ่งนาที

にっぽん (nippon) นิปปง หมายถึง ญี่ปุ่น

すっぱい (suppai) สุปปะอิ หมายถึง เปรี้ยว


5. เสียงตัวสะกด ん

เสียงตัวสะกด ん ออกเสียงได้สามเสียง ขึ้นอยู่กับพยัญชนะที่ตามมา


(1) ออกเสียงเป็น "ง" กรณีที่ตามหลังด้วยอักษรในแถว 「あ」「か」「が」「は」「わ」หรือมี ん เป็นตัวสุดท้าย


วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงสะกด

てんき (tenki) เทงคิ หมายถึง อากาศ

ぜんはん (zenhan) เซนฮัง หมายถึง ครึ่งแรก

でんわ (denwa) เดงวะ หมายถึง โทรศัพท์

にほん (nihon) นิฮง หมายถึง ญี่ปุ่น

(2) ออกเสียงเป็น "น" กรณีที่ตามหลังด้วยอัษรในแถว「さ」「ざ」「た」「だ」「な」「や」「ら」


วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงสะกด

ほんとう (hontoo) โฮนโต หมายถึง จริง

こんど (kondo) โคนโดะ หมายถึง ครั้งหน้า

しんゆう (shinyuu) ชินยู หมายถึง เพื่อนสนิท

しんりん (shinrin) ชินริน หมายถึง ป่า

(3) ออกเสียงเป็น "ม" กรณีที่ตามหลังด้วยอักษรในแถว 「ば」「ぱ」「ま」


วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงสะกด

こんばん (konban) โคมบัง หมายถึง เย็นนี้

えんぴつ (enpitsu) เอมปิสึ หมายถึง ดินสอ

しんまい (shinmai) ชิมไม หมายถึง ข้าวใหม่

しんぶん (shinbun) ชิมบุน หมายถึง หนังสือพิมพ์


ดังนั้น คำทักทายตอนกลางวัน こんにちは (konnichiwa) จึงออกเสียงเป็น "โคนนิจิวะ" ส่วนคำทักทายตอนเย็น こんばんは (konbanwa) จึงออกเสียงเป็น "โคมบังวะ"


6. เสียงยาว

เสียงยาว คือ เสียงที่มีสระเดียวกันติดกัน จึงออกเป็นเสียงยาว เช่นหากมีเสียงวรรค a (อะ)กับเสียงวรรค a (อะ) ออกเสียงเป็น “อา” /มีเสียงวรรค i (อิ)กับ เสียงวรรค i (อิ) ออกเสียงเป็น “อี” /มีเสียงวรรค u (อุ)กับ เสียงวรรค u (อุ) ออกเสียงเป็น “อู”/มีเสียงวรรค e (เอะ)กับ เสียงวรรค e (เอะ) ออกเสียงเป็น “เอ” หรือเสียงวรรค e (เอะ)กับ เสียงวรรค i (อิ) ก็ออกเสียงเป็น “เอ” ได้เช่นกัน /มีเสียงวรรค o (โอะ)กับ เสียงวรรค o (โอะ) ออกเสียงเป็น “โอ” หรือเสียงวรรค o (เอะ)กับ เสียงวรรค u (อุ) ก็ออกเสียงเป็น “โอ” ได้เช่นกัน


วิธีการอ่านคำที่มาจากเสียงยาว

おおきい (ookii) โอคี่ หมายถึง ใหญ่

ふうとう (fuutoo) ฟูโต หมายถึง ซอง

おねえさん (oneesan) โอะเนซัง หมายถึง พี่สาว

ちいさい (chiisai) จีซะอิ หมายถึง เล็ก

Σχόλια


bottom of page